การเสริมหน้าอกการทำหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น มี 2 วิธี

การเสริมหน้าอกการทำหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น มี 2 วิธี

1. วิธีการฉีด (Filling Breast)

สิ่งที่ใช้ฉีดปัจจุบันนี้โดยสรุปแล้วยังไม่มีสิ่งใดสมควรฉีดเข้าภายในหน้าอกไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์ต่างๆ หรือสารเหลวใด ๆ ก็ตาม เพราะทำให้เกิดพังผืดและอักเสบเรื้อรังได้ง่าย มีเพียงชนิดเดียวที่สามารถทำได้คือฉีดไขมัน แต่การฉีดไขมันเข้าหน้าอก (Lipo filling Breast) นั้น ก็จะต้องระวังและทำในผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากการฉีดไขมันนั้นจะต้องฉีดใน 3 ระดับชั้น เหนือเนื้อเต้านม (Sub Glandular) ใต้เนื้อเต้านม (Glandular Tissue) และในชั้นกล้ามเนื้อ (Muscle) เท่านั้น ไม่ควรฉีดเข้าไปในเนื้อเต้านมจริงๆ เพราะอาจทำให้เกิดก้อนซีสต์ (Cysts) ภายหลังและมีหินปูนเกาะ ทำให้การดู mamogram เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมระยะแรกทำได้ยาก และการฉีดเต้านมด้วยไขมันนั้น มีข้อเสียคือ จะต้องใช้ไขมันปริมาณมากในบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น หน้าท้อง ต้นขา เอว สะโพก ไม่เช่นนั้นก็จะได้ไขมันไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันไขมันที่ฉีดเข้าไปนั้นส่วนหนึ่งก็สลายไป โดยทั่วไปไขมันจะติดประมาณ 30-50% ไม่สามารถติดได้ 100% ดังนั้นการฉีดไขมันเพื่อให้หน้าอกใหญ่ขึ้นมักจะเห็นผลไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการฉีดไขมันที่หน้าอกเป็นส่วนเสริม หรือที่เรียกว่า Hybrid หมายความว่า เสริมวัสดุด้วย เพื่อแก้ปัญหาเรื่องริ้วรอยในคนเนื้อหน้าอกน้อยอยู่แล้วหรือหลังจากการเสริมหน้าอกด้วยวัสดุแล้วผิวบางอาจจะเห็นขอบ (Rippling) ของวัสดุจึงฉีดไขมันเพิ่มเติม จุดประสงค์ของการฉีดไม่ใช่เพื่อให้หน้าอกใหญ่ขึ้น แต่ต้องการให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Soft Tissue) หนาขึ้นเพื่อบังขอบถุง กรณีอย่างนี้จะเห็นผลได้ดี

2. ที่นิยมทำที่สุดก็คือการเสริมด้วยวัสดุเต้านมเทียม (Breast Implant)

เสริมหน้าอกนั้นเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 1961 โดย ศัลยแพทย์ชาวอเมริกัน และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน วัสดุเสริมหน้าอกหรือเรียกว่า Brest Implant โดยทั่วไปจะมี 2 ชนิด คือ

1. Saline Breast Implant หรือถุงน้ำเกลือ การเสริมหน้าอกด้วยถุงน้ำเกลือนั้น ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากข้อเสียของถุงน้ำเกลือมักจะรั่วซึม (Deflation) ได้ง่าย

2.Siliconegel Implant หรือถุงซิลิโคน ถุงใส่เจลซิลิโคนนั้นใช้กันแพร่หลายมามากกว่า 30 ปี มีการพัฒนาจนปัจจุบันในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกหลากหลายแบรนด์ หลากหลายรุ่น และแบรนด์ที่ได้มาตราฐานทั่วโลก เช่น Mentor Motiva ส่วนทางยุโรปนั้นก็จะมี Allergan Sebbin Euro Silicone (GCA) Arion ซึ่งแล้วล้วนแล้วแต่ผ่าน อย. ของไทย หลัก ๆ แล้วมีผิวเรียบและผิวทราย โดยสมัยก่อนซิลิโคนเจลมักจะใช้ผิวเรียบเป็นส่วนใหญ่ แต่พบปัญหาคือเกิดพังผืด (Capsular Contracture) ไหลออกข้างและตกคล้อยลงในภายหลังที่เรียกว่า Bottom Out เนื่องจากไม่มีตัวยึดเหนี่ยวกับตัวเนื้อนม ทำให้รูปทรงในระยะยาวจะหย่อนคล้อยง่าย จึงมีการผลิตถุงผิวทรายขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ที่เรียกว่า Texture Implant และพัฒนาจนปัจจุบันมีผิวเรียบกึ่งผิวทรายเรียกว่า Nanotexture โดยบริษัท Motiva

การเสริมหน้าอกการทำหน้าอกให้ใหญ่

การใส่ถุงหน้าอกมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ

1. Subglandular หรือ Subfacial ก็คล้ายกัน คือการใส่เหนือกล้ามเนื้อ Pectolaris Major ข้อดีคือ นิ่มกว่า ชิดตรงกลางมากกว่า และไม่มี Animation แต่ข้อเสียคือ อาจเห็นขอบถุงได้ โดยเฉพาะคนที่มีผิวหนังบางบริเวณเนินอกด้านใน
2. Subpectolaris คือการใส่ใต้กล้ามเนื้อ ข้อดีคือสามารถบังขอบถุงได้ดีกว่าในคนผิวบาง และ โดยทางทฤษฎีแล้วจะเกิดผังผืดได้น้อยกว่าเหนือกล้ามเนื้อ ส่วนข้อเสียคือ ในระยะยาวบางคนมีเต้านมห่างออกไม่ชิด เนื่องจากเวลากล้ามเนื้อขยับจะดึงถุงออกด้านข้างและมีถุงลอยขึ้นด้านบนซึ่งเรียกว่า High Riding Implant คือมี ลักษณะของ Animation Deformity ที่เวลาขยับกล้ามเนื้อแล้วถุงซิลิโคนจะขยับตามไปด้วย (Displace) ดูไม่ธรรมชาติ จึงมีการคิดค้น Dual plane ซึ่งก็คือการใส่ใต้กล้ามเนื้อ แต่ในด้านล่างของกล้ามเนื้อนั้น จะตัดกล้ามเนื้อออกมาจากตัวยึดเกาะ เพื่อลดปัญหาของการเกิด Animation Deformity ซึ่งวิธีทำ Dual plane นั้น จะต้องทำผ่าตัดบริเวณใต้ราวนม (IMF) จึงจะทำได้ดี โดยระดับของ Dual plane นั้นมีอยู่ 3 Level รายละเอียดขอไม่กล่าวในที่นี้

ตำแหน่งในการผ่าตัด เสริมหน้าอกจะมีอยู่ 3 ช่องทาง
1. ผ่าตัดบริเวณรักแร้ (Axilla) ซึ่งเป็นที่นิยมมานาน
2. ผ่าตัดบริเวณปานนม (Poriareolar) ปัจจุบันวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยม เพราะพบว่ามีแบคทีเรียบริเวณท่อน้ำนมปนเปื้อนเข้าไปในช่องถุงนมทำให้เกิดปัญหาพังผืดระยะยาวได้
3. ผ่าตัดบริเวณราวนม (IMF) เป็นวิธีที่นิยมมากทางฝั่งตะวันตก เนื่องจากสามารถทำผ่าตัดได้ทุกชนิด หรืองานแก้ไข ใดๆก็มักจะต้องผ่านบริเวณนี้

การเสริมหน้าอกการทำหน้าอกให้ใหญ่

ผลข้างเคียงของการเสริมหน้าอก คือ

1.เลือดคั่ง
3.หน้าอก 2 ข้างสูงต่ำไม่เท่ากันไม่เท่ากัน

2.ติดเชื้อ
4.พังผืดหน้าอกแข็งหรือที่เรียกว่า Capsular Contracture

ความคืบหน้าของการเสริมหน้าอกนั้นในระยะหลังพบว่า มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ALCL คือมะเร็งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเม็ดเลือดขาวรอบถุงนม พบความเสี่ยงประมาณ 1 ต่อ 2,200 (0.045) ถึง 1 ต่อ 86,000 (0.001) รายของคนที่เสริมหน้าอกจากตัวเลขของ ASPRS (USA) Breast implant-associated anaplastic large cell lymphoma (BIA-ALCL) เป็นมะเร็งต่อมน้ําเหลืองชนิด T-cell ที่หายาก และก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติรอบ ๆ เต้านมเทียม

BIA-ALCL ไม่ใช่มะเร็งเต้านม สามารถรักษาได้ในคนส่วนใหญ่หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรกโดยมีความเสี่ยงในกรณีใช้ถุงเต้านมเทียมลักษณะผิวทรายหยาบ ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์รุ่นก่อน ๆ ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 สมาคมศัลยแพทย์พลาสติกแห่งอเมริการายงานผู้ป่วย BIA-ALCL ทั้งหมด 1,352 ราย จากจำนวนผู้เสริมเต้านมเทียมทั้งหมด 35 ล้านคน (ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี)

อาการ BIA-ALCL

อาการที่พบบ่อยที่สุดของ BIA-ALCL คืออาการบวมที่เกิดจากการสะสมของของเหลวในบริเวณที่เต้านมเทียม มีแนวโน้มที่จะเกิดหลายปีหลัง โดยเฉลี่ยแล้ว 7-10 ปี ตามแนวทางจาก National Comprehensive Cancer Network (NCCN) หากแพทย์สงสัยว่ามีการวินิจฉัย BIA-ALCL จะตรวจด้วยการด้วยอัลตราซาวด์หรือ MRI แพทย์จะเก็บตัวอย่างของเหลวโดยใช้การดูดของเหลวภายในเต้านมด้วยเข็มละเอียด ของเหลวควรได้รับการทดสอบสําหรับ CD30 ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในปริมาณที่สูงกว่าปกติในเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน BIA-ALCL รายละเอียดการรักษา ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

นึกถึง ศัลยกรรมความงาม นึกถึงหมอกรีชาติ ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งมิลาด้า

สอบถามเพิ่มเติม หรือ จองคิว ได้ที่
Telephone 063-343-9855 , 02-212-4041 , 02-212-4042
Messenger m.me/DRgreechat
Line ID @miladahospital (มีแอดด้วยนะคะ)
Instragram @miladahospital
Website www.miladahospital.com

ความรู้ที่น่าสนใจอื่นๆ

โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งมิลาด้า |  FFS in thailand

CONTACT US

Milada Plastic Surgery Hospital

1 Sathu Pradit 20 Road, Bang Khlo
Subdistrict Bang Kho Laem District,
Bangkok 10120

Copyright 2023 www.miladahospital.com